วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

ศัพท์ภาษาจีนหมวดอาเซียน

ศัพท์ภาษาจีนหมวดอาเซียน ทุกคนต้องรู้ไว้
东盟 ตงเหมิง dōngméng อาเซียน
东南亚国家联盟 ตงหนานย่ากั๋วเจียเหลียนเหมิง dōngnányàguójiāliánméng อาเซียน
东盟经济共同体 ตงเหมิงจิงจี้ก้งถงถี่ dōngméngjīngjìgòngtóngtǐ AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
东盟共同体 ตงเหมิงก้งถงถี่ dōngménggòngtóngtǐ ประชาคมอาเซียน
东盟投资区 ตงเหมิงโถวจือชวี dōngméngtóuzīqū เขตการลงทุนอาเซียน
东盟自由贸易区 ตงเหมิงจื้อโหยวเม้าอี้ชวี dōngméngzìyóumàoyìqū เขตการค้าเสรีอาเซียน
东盟宪章 ตงเหมิงเสี้ยนจาง dōngméngxiànzhāng กฏบัตรอาเซียน
东南亚国家联盟事务司 ตงหนานย่ากั๋วเจียเหลียนเหมิงซื่ออู้ซือ dōngnányàguójiāliánméngshìwùsī กรมอาเซียน

มารู้จักชื่อประเทศต่างๆในอาเซียนเป็นภาษาจีนกัน1. Brunei Darussalam - 文莱 wen2 lai2 เหวินหลาย
2. Cambodia - 柬埔寨 jian3 pu3 zhai4 เจี๋ยน ผู่ ไจ้
3. Indonesia - 印度尼西亚 yin4 du4 ni2 xi1 ya4 ยิ่น ตู้ หนี ซี ย่า
4. Laos - 老挝 lao3 wo1 หล่าว วอ
5. Malaysia - 马来西亚 ma3 lai2 xi1 ya4 หม่า หลาย ซี ย่า
6. Myanmar - 缅甸 mian3 dian4 เหมี่ยน เตี้ยน
7. Philippines - 菲律宾 fei1 lv4 bin1 เฟย ลวี่ ปิน
8. Singapore - 新加坡 xin1 jia1 po1 ซิน เจีย โพว
9. Thailand - 泰国 tai4 guo2 ไท่ กว๋อ
10. Vietnam - 越南 yue4 nan2 เยว่ หนาน @ http://as-share.blogspot.com/2010/09/blog-post_14.html?m=1
มารู้จักชื่อประเทศต่างๆในอาเซียนเป็นภาษาจีนกันไหมค่ะ ^^ | ASEAN-share
as-share.blogspot.com

วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

เกี่ยวกับการสอบ HSKK


การสอบ HSKK (Chinese Proficiency Speaking Test / 汉语水平口语考试) คือการสอบปากเปล่าที่แยกออกมาจาก HSK ซึ่งเป็นการสอบข้อเขียน โดยแยกเป็นระดับต้น กลาง และสูง

1. ระดับต้น เป็นระดับที่เกี่ยวข้องกับ HSK ระดับ 1 และ 2 โดยก่อนสอบต้องเรียนภาษาจีนให้ได้ 1-2 ภาคเรียน เรียนอักษรจีนได้ 225 ตัว เรียนศัพท์ 200 คำเป็นอย่างน้อย
ข้อสอบระดับต้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย
(1) ฟังก่อนแล้วพูดตาม 15 ข้อ (ข้อ 1 ถึง 15 / 4 นาที / เฉลี่ยข้อละ 16 วินาที) โดยแต่ละข้อจะพูดก่อนทีละประโยค แล้วพูดตามออกมาทันที
(2) ฟังแล้วตอบคำถาม 10 ข้อ (ข้อ 16 ถึง 25 / 3 นาที / เฉลี่ยข้อละ 18 วินาที) โดยแต่ละข้อจะพูดคำถามก่อน แล้วตอบออกมาัทันที
(3) ตอบคำถาม 2 ข้อ (ข้อ 26 และ 27 / 3 นาที / เฉลี่ยข้อละ 1 นาที 30 วินาที) โดยในข้อสอบจะพิมพ์คำถามไว้ (เติมคำอ่าน) ผู้เข้าสอบต้องตอบคำถามอย่างน้อย 5 ประโยค
รวมทั้งหมด 27 ข้อ ใช้เวลาสอบ 17 นาที (รวมกับเวลาเตรียมตัวอีก 7 นาที)

2. ระดับกลาง เป็นระดับที่เกี่ยวข้องกับ HSK ระดับ 3 และ 4 โดยก่อนสอบต้องเรียนภาษาจีนให้ได้ 1-2 ปีการศึกษา เรียนอักษรจีนได้ 864 ตัว เรียนศัพท์ 900 คำเป็นอย่างน้อย
ข้อสอบระดับกลางแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย
(1) ฟังก่อนแล้วพูดตาม 10 ข้อ (ข้อ 1 ถึง 10 / 3 นาที / เฉลี่ยข้อละ 18 วินาที) โดยแต่ละข้อจะพูดก่อนทีละประโยค แล้วพูดตามออกมาทันที
(2) ดูภาพแล้วพูด 2 ข้อ (ข้้อ 11 และ 12 / 4 นาที / เฉลี่ยข้อละ 2 นาที) โดยในแต่ละข้อพิมพ์ภาพลงในข้อสอบ ผู้เข้าสอบต้องดูภาพแล้วบรรยายออกมาให้มากที่สุด
(3) ตอบคำถาม 2 ข้อ (ข้อ 13 และ 14 / 4 นาที / เฉลี่ยข้อละ 2 นาที) โดยในข้อสอบจะพิมพ์คำถามไว้ (เติมคำอ่าน) ผู้เข้าสอบต้องตอบคำถามทันที
รวมทั้งหมด 14 ข้อ ใช้เวลาสอบ 21 นาที (รวมกับเวลาเตรียมตัวอีก 10 นาที)

3. ระดับสูง เป็นระดับที่เกี่ยวข้องกับ HSK ระดับ 5 และ 6 โดยก่อนสอบต้องเรียนภาษาจีนให้ได้ 2 ปีการศึกษาขึ้นไป เรียนอักษรจีนได้ 1,800 ตัว เรียนศัพท์ 3,000 คำเป็นอย่างน้อย
ข้อสอบระดับสูงแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย
(1) ฟังก่อนแล้วพูดตาม 3 ข้อ (ข้อ 1 ถึง 3 / 7 นาที / เฉลี่ยข้อละ 2 นาที 20 วินาที) โดยแต่ละข้อจะพูดก่อนทีละย่อหน้า แล้วผู้เข้าสอบต้องพูดย่อหน้านั้นตาม
(2) พูดออกเสียง 1 ข้อ (ข้อ 4 / 2 นาที) โดยให้พูดย่อหน้าที่พิมพ์ลงบนข้อสอบทันที
(3) ตอบคำถาม 2 ข้อ (ข้อ 5 และ 6 / 5 นาที / เฉลี่ยข้อละ 2 นาที 30 วินาที) โดยในข้อสอบจะพิมพ์คำถามไว้ ผู้เข้าสอบต้องตอบคำถามทันที
รวมทั้งหมด 6 ข้อ ใช้เวลาสอบ 24 นาที (รวมกับเวลาเตรียมตัวอีก 10 นาที)

ทุกระดับมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน ถ้าทำได้ 60 คะแนนขึ้นไปถือว่าผ่าน

นำมาจาก https://www.facebook.com/groups/Chinese.For.HSK/doc/364472636983331/ 

วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556

เกี่ยวกับการสอบ BCT

การสอบ BCT หรือการสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีนเพื่อการอาชีพและธุรกิจ มาจาก Business Chinese Test 职业与商务汉语考试 เป็นการสอบวัดระดับความรู้ของแต่ละการงานอาชีพเพื่อการธุรกิจ โดยแบ่งการสอบเป็น 2 รูปแบบ

รูปแบบที่ 1 คือการฟังและอ่าน - มีข้อสอบรวม 100 ข้อ แบ่งออกเป็น
1. การฟัง 50 ข้อ (ข้อ 1 ถึง 50) ใช้เวลา 40 นาที โดยใน
1.1 ส่วนที่ 1 (ข้อ 1 ถึง 12) ฟังประโยคคำถามก่อน แล้วฟังตัวเลือก 3 ข้อ และระบายคำตอบที่เหมาะสมที่สุดเพียงข้อเดียวลงในกระดาษคำตอบ 
1.2 ส่วนที่ 2 (ข้อ 13 ถึง 32) ฟังบทสนทนาหรือเรื่องสั้น ดูตัวเลือกที่พิมพ์บนข้อสอบ ซึ่งเป็นภาพ กราฟ ข้อมูล หรือข้อความ และระบายคำตอบที่เหมาะสมที่สุดเพียงข้อเดียวลงในกระดาษคำตอบ 
1.3 ส่วนที่ 3 (ข้อ 33 ถึง 42) ฟังบทสนทนาหรือบทความที่ยาวขึ้น ดูตัวเลือกที่พิมพ์บนข้อสอบ ซึ่งเป็นข้อความ และระบายคำตอบที่เหมาะสมที่สุดเพียงข้อเดียวลงในกระดาษคำตอบ
1.4 ส่วนที่ 4 (ข้อ 43 ถึง 50) ฟังข้อละ 1 ครั้ง ดูคำที่หายไปในแต่ละหัวข้อ แล้วเขียนคำตอบที่ถูกต้องลงในกระดาษคำตอบ
2. การอ่าน 50 ข้อ (ข้อ 51 ถึง 100) ใช้เวลา 1 ชั่วโมง
2.1 ส่วนที่ 1 (ข้อ 51 ถึง 72) ดูภาพแล้วตอบคำถามข้างท้าย และระบายคำตอบที่เหมาะสมที่สุดเพียงข้อเดียวลงในกระดาษคำตอบ
2.2 ส่วนที่ 2 (ข้อ 73 ถึง 84) อ่านข้อความต่อไปนี้ โดยในแต่ละเรื่องซ่อนคำศัพท์ไว้ 6 คำ แล้วเลือกคำที่เหมาะสมที่สุด โดยระบายลงในกระดาษคำตอบ
2.3 ส่วนที่ 3 (ข้อ 85 ถึง 94) อ่านตัวเลือกข้างล่างต่อไปนี้ เพื่อตอบคำถามข้างต้น แล้วเลือกคำตอบที่เหมาะสมที่สุดเพียงข้อเดียว โดยระบายลงในกระดาษคำตอบ
2.4 ส่วนที่ 4 (ข้อ 95 ถึง 100) อ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม โดยเขียนคำตอบให้ถูกต้อง โดยคำตอบจะต้องไม่เกิน 10 อักษร

รูปแบบที่ 2 คือการพูดและเขียน - มีข้อสอบรวม 4 ข้อ แบ่งออกเป็น
1. การพูด 2 ข้อ ใช้เวลา 10 นาที ฟังเทป แล้วทำตามคำสั่ง
1.1 ผู้คุมสอบสั่งผู้เข้าสอบกรอกชื่อ-นามสกุล สัญชาติ และเลขที่สอบ
1.2 ผู้คุมสอบพูดออกมาเมื่อใดต้องพร้อมทันที
1.3 เมื่อเวลาเตรียมตัวสิ้นสุดลง ตามเทปที่ได้ยินแล้วตอบคำถาม
1.4 ก่อนแต่ละข้อจบ 10 ถึง 15 วินาที ผู้เข้าสอบต้องเตรียมหยุดพูดทันที
2. การเขียน 2 ข้อ ใช้เวลา 40 นาที

ทุกทักษะมีคะแนนเต็ม 500 คะแนน และคะแนนเต็มของทั้ง 2 รูปแบบคือ 1,000 คะแนน
ถ้าได้คะแนนแต่ละทักษะตั้งแต่ 401 ถึง 500 คะแนน ได้ระดับ 5
ตั้งแต่ 301 ถึง 400 คะแนน ได้ระดับ 4
ตั้งแต่ 201 ถึง 300 คะแนน ได้ระดับ 3
ตั้งแต่ 101 ถึง 200 คะแนน ได้ระดับ 2
ตั้งแต่ 0 ถึง 100 คะแนน ได้ระดับ 1

ถ้าได้คะแนนรวมตั้งแต่ 801 ถึง 1,000 คะแนน ได้ระดับ 5
ตั้งแต่ 601 ถึง 800 คะแนน ได้ระดับ 4
ตั้งแต่ 401 ถึง 600 คะแนน ได้ระดับ 3 
ตั้งแต่ 201 ถึง 400 คะแนน ได้ระดับ 2
ตั้งแต่ 0 ถึง 200 คะแนน ได้ระดับ 1

หากผลสอบออกมาเป็นระดับ 1 จะไม่ได้ใบประกาศนียบัตร 

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

การกรอกใบสมัครสอบ HSK / YCT / BCT

การกรอกใบสมัครสอบ HSK / YCT
ตำแหน่งที่ต้องกรอกคือ
1. ชื่อ-นามสกุลภาษาอังกฤษ
2. ชื่อภาษาจีน
3. ที่อยู่ของตนเอง (บ้านเกิดหรือปัจจุบัน)
4. เพศของตนเอง
5. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail มีหรือไม่มีก็ได้)
6. ภาษาหลัก (กรอก ภาษาไทย หรือ 泰语)
7. ระดับที่ต้องการสอบ (กาหรือระบายเต็มช่องสี่เหลี่ยม)
8. เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก

และทุกครั้งต้องเตรียมภาพถ่ายขนาด 1.5 นิ้ว 2 ใบ และค่าสมัครตามระดับ
HSK ระดับ 1 ราคา 500 บาท
HSK ระดับ 2 ราคา 600 บาท
HSK ระดับ 3 ราคา 700 บาท
HSK ระดับ 4 ราคา 800 บาท
HSK ระดับ 5 ราคา 1,000 บาท
HSK ระดับ 6 ราคา 1,200 บาท
HSK ปากเปล่าระดับต้น ราคา 400 บาท
HSK ปากเปล่าระดับกลาง ราคา 500 บาท
HSK ปากเปล่าระดับสูง ราคา 600 บาท
YCT ระดับ 1 ราคา 100 บาท
YCT ระดับ 2 ราคา 200 บาท
YCT ระดับ 3 ราคา 300 บาท
YCT ระดับ 4 ราคา 400 บาท

ย้ำ! หากหลักฐานไม่ครบ สมัครไม่ได้     

วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

การเตรียมตัวก่อนและหลังสอบ HSK / YCT / BCT

การเตรียมตัวสอบ HSK / YCT / BCT
1. ต้องหมั่นทบทวนเนื้อหาที่เรียนไปให้ถ่องแท้
2. ทำข้อสอบจริงบน Website
3. ควรฝึกปรือความกล้าของตนเอง
4. Download จาก http://www.chinesetesting.cn/godownload.do หรือพิมพ์ข้อสอบออกมา
5. เตรียมตัวอ่านคำศัพท์ให้พร้อม

ก่อนสอบ HSK / YCT / BCT
1. เอาอุปกรณ์การสอบ (ดินสอ 2B, ยางลบ, บัตรสอบ และบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทาง) เข้าไปในห้องสอบในวันสอบ
2. นำบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางมายืนยันต่อกรรมการผู้เข้าสอบ (ถ้าไม่นำมาก็เข้าสอบไม่ได้)
3. กรอกข้อมูลลงในกระดาษคำตอบ (ในข้อเขียน) หรือบัตรสนเทศ (ในปากเปล่า)
4. เริ่มฟังคำสั่งจาก CD

หลังสอบ HSK / YCT / BCT
1. ไม่ควรนำข้อสอบกลับไป
2. รอรับบัตรสีเหลืองใบเล็กๆ ก่อนออกจากห้องสอบ
3. หลังจากวันสอบไปแล้ว 1 เดือน ให้ตรวจผลสอบที่ http://www.chinesetesting.cn/ โดยกรอกข้อมูลคือ ชื่อผู้สอบ เลขรหัสเข้าสอบ และรหัส 4 หลักที่กำหนดให้

ตารางการสอบ BCT ประจำปี พ.ศ.2556


ตารางการสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีนสำหรับการประกอบการอาชีพและธุรกิจ (BCT) ประจำปี 2556

ครั้งที่
วันสอบ
วันสุดท้ายของการรับสมัคร
วันประกาศผลสอบ
1
21 เมษายน
25 มีนาคม
21 พฤษภาคม
2
9 มิถุนายน
13 พฤษภาคม
9 กรกฎาคม
3
22 กันยายน
26 สิงหาคม
22 ตุลาคม
4
17 พฤศจิกายน
21 ตุลาคม
17 ธันวาคม

ตารางการสอบ YCT ประจำปี พ.ศ.2556

ตารางการสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีนสำหรับเด็กและเยาวชน (YCT) ประจำปี 2556

ครั้งที่
วันสอบ
รูปแบบของการสอบ
วันสุดท้ายของการสมัคร
ประกาศผลสอบ
ใช้กระดาษข้อสอบและดินสอ
ใช้ระบบอินเทอร์เน็ต
1
23 มีนาคม
สอบข้อเขียนอย่างเดียว
24 กุมภาพันธ์
13 มีนาคม
24 เมษายน
2
25 พฤษภาคม
สอบข้อเขียนและปากเปล่า
28 เมษายน
15 พฤษภาคม
25 มิถุนายน
3
24 สิงหาคม
สอบข้อเขียนอย่างเดียว
28 กรกฎาคม
14 สิงหาคม
24 กันยายน
4
16 พฤศจิกายน
สอบข้อเขียนและปากเปล่า
20 ตุลาคม
6 พฤศจิกายน
16 ธันวาคม

แปลเป็นภาษาไทยจาก http://www.chinesetesting.cn/gonewcontent.do?id=5109258

ตารางการสอบ HSK และ HSKK ประจำปี พ.ศ.2556


ตารางการสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีนแบบข้อเขียน (HSK) และแบบปากเปล่า (HSKK) ประจำปี 2556

1. แบบข้อเขียน (HSK) แบ่งออกเป็นระดับ 1 ถึง 6
ครั้งที่
วันสอบ
วันสุดท้ายของการสมัคร
ประกาศผลสอบ
ใช้กระดาษข้อสอบและดินสอ
ใช้ระบบอินเทอร์เน็ต
1
12 มกราคม
16 ธันวาคม 2555
2 มกราคม
12 กุมภาพันธ์
2
24 มีนาคม
25 กุมภาพันธ์
14 มีนาคม
24 เมษายน
3
20 เมษายน
24 มีนาคม
10 เมษายน
20 พฤษภาคม
4
12 พฤษภาคม
15 เมษายน
2 พฤษภาคม
12 มิถุนายน
5
16 มิถุนายน
20 พฤษภาคม
6 มิถุนายน
16 กรกฎาคม
6
21 กรกฎาคม
24 มิถุนายน
11 กรกฎาคม
21 สิงหาคม
7
7 กันยายน
11 สิงหาคม
28 สิงหาคม
7 ตุลาคม
8
20 ตุลาคม
23 กันยายน
10 ตุลาคม
20 พฤศจิกายน
9
1 ธันวาคม
4 พฤศจิกายน
21 พฤศจิกายน
4 มกราคม 2557

2. แบบปากเปล่า (HSKK) แบ่งออกเป็นระดับต้น กลาง และสูง
ครั้งที่
วันสอบ
วันสุดท้ายของการสมัคร
ประกาศผลสอบ
ใช้กระดาษข้อสอบและดินสอ
ใช้ระบบอินเทอร์เน็ต
1
24 มีนาคม
25 กุมภาพันธ์
14 มีนาคม
24 เมษายน
2
12 พฤษภาคม
15 เมษายน
2 พฤษภาคม
12 มิถุนายน
3
20 ตุลาคม
23 กันยายน
10 ตุลาคม
20 พฤศจิกายน
4
1 ธันวาคม
4 พฤศจิกายน
21 พฤศจิกายน
4 มกราคม 2557

แปลเป็นภาษาไทยจากเว็บ http://www.chinesetesting.cn/gonewcontent.do?id=5109258

วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

ประวัติศาสตร์จีน

สมัยราชวงศ์ในจีน
1.夏代(约公元前21世纪——约公元前16世纪)
2.商代(约公元前16世纪——公元前1046年)
3.周代(公元前1046——公元前256年)
①西周(公元前1046——公元前771年)
②春秋(公元前771——公元前256年)
4.战国(公元前477——公元前222年)
5.秦代(公元前221——公元前206年)
6.西汉(公元前206——公元前8年)
7.新代(公元前8——公元23年)
8.东汉(23——220年)
9.三国(220——280年)
①魏国(220——265年)
②蜀国(221——263年)
③吴国(229——280年)
10.西晋(265——316年)
11.东晋(316——420年)
12.南北代(420——581年)
13.隋代(581——618年)
14.唐代(618——907年)
15.五代十国(907——960年)
16.宋代(960——1271年)
①北宋(960——1127年)
②南宋(1127——1271年)
17.元代(1271——1368年)
18.明代(1368——1644年)
19.清代(1644——1911年)

1. ราชวงศ์เซี่ย (ประมาณ 21 ถึง 16 ศตวรรษก่อนคริสตกาล)
2. ราชวงศ์ซาง (ประมาณ 16 ศตวรรษถึง 1046 ปีก่อนคริสตกาล) 
3. ราชวงศ์โจว (1046 ถึง 256 ปีก่อนคริสตกาล)
3.1 ราชวงศ์โจวตะวันตก (1046 ถึง 771 ปีก่อนคริสตกาล)
3.2 ยุคชุนชิว (771 ถึง 256 ปีก่อนคริสตกาล)
4. ยุคจั้นกั๋ว (477 ถึง 222 ปีก่อนคริสตกาล)
5. ราชวงศ์ฉิน (221 ถึง 206 ปีก่อนคริสตกาล)
6. ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (206 ถึง 8 ปีก่อนคริสตกาล)
7. ราชวงศ์ซิน (8 ปีก่อนคริสตกาลถึง ค.ศ.23)
8. ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ.23 ถึง 220)
9. ยุคสามก๊ก (ค.ศ.220 ถึง 280)
9.1 แคว้นเว่ย (ค.ศ.220 ถึง 265)
9.2 แคว้นสู่ (ค.ศ.221 ถึง 263)
9.3 แคว้นอู๋ (ค.ศ.229 ถึง 280)
10. ราชวงศ์จิ้นตะวันตก (ค.ศ.265 ถึง 316)
11. ราชวงศ์จิ้นตะวันออก (ค.ศ.316 ถึง 420)
12. ราชวงศ์เหนือใต้ (ค.ศ.420 ถึง 581)
13. ราชวงศ์สุย (ค.ศ.581 ถึง 618)
14. ราชวงศ์ถัง (ค.ศ.618 ถึง 907)
15. ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร (ค.ศ.907 ถึง 960)
16. ราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ.960 ถึง 1271)
16.1 ราชวงศ์ซ่งเหนือ (ค.ศ.960 ถึง 1127)
16.2 ราชวงศ์ซ่งใต้ (ค.ศ.1127 ถึง 1271)
17. ราชวงศ์หยวน (ค.ศ.1271 ถึง 1368)
18. ราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368 ถึง 1644)
19. ราชวงศ์ชิง (ค.ศ.1644 ถึง 1911)

中华民国(1911年——现在) สาธารณรัฐจีน (ค.ศ.1911 ถึงปัจจุบัน)
中华人民共和国(1949年10月1日——现在) สาธารณรัฐประชาชนจีน (1 ตุลาคม ค.ศ.1949 ถึงปัจจุบัน)

อ้างอิงมาจาก
1. http://baike.baidu.com/view/189961.htm
2. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99
3. http://zh.wikipedia.org/wiki/%E4%B8%AD%E5%9B%BD%E5%8E%86%E5%8F%B2 
4. http://en.wikipedia.org/wiki/History_of_China